Software
ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนของการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้ แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพ่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผนซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้นหน้าที่ของ Software
ซอฟต์แวร์ทำหน้าทีเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็จะไม่สามารถใช้เครื่อ'คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวรืประยุกต์ (Application Software)
3. ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เป็นซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผอบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำสำรอง
2. ซอฟต์แวร์ระบบ (Application Software)
System Software หรือดปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีคือ Dos , Windows , Unix , Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic , fortran , Pascal , Cobol , C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1. ใช้ในการจัดหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผงแป้นอักขระ สังรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารบบ (Directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น ระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2. ตัวแปลภาษา
1. ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รูกจักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ ลี นุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
1. ดอส (Disk Operating System : DOS ) เป็นวอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัมนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป้นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รูกจักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมดครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
2. วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาการต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
3. ยูนิกซ์ (Unix) เป้นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใด ระบบหนึ่งหรืออุปกรณรที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกส์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทมี่เรียกว่า "ระบบหลายผู้ใช้ ( multiusers)" และสามารถทำงานได้หลายๆงานในวลาเดียวกันในลักษณธที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่องโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกันได้
4. ลีนุกซ์(Linux) เป็นระบบที่มีการพัฒนามาจากระบบยูกนิกซ์เป็นระบบที่มีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ระบบลีนุกส์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (free Warre) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช่จ่าย
ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิทอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN Sparc) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการ วินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้งานจำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยกันพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
5. แมคอินทอช (Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินเทอช ส่วนมากนำไปใช้งานในด้านกราฟฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้สำนักพิมพ์ต่างๆ
นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา
ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจะแนกออกเป็น ๓ ชนิดด้วยกัน คิอ
1.ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์เช่นระบบปฏิบัติการดอส เป้นต้น
2. ประเภทใช้หลายงาน (Mu;ti - tasking ) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขระเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ไดหลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ WinDows 98 ขึ้นไป และ UNIX เป็นต้น
3.ประเภทงานหลายคน (Multi - usetr) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอรืขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขระใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป้นต้น
2. ตัวแปลภาษา
การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรกแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัมนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic , Pascal , C และภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยุ่ปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Fontran , Cobol , และ ภาษาอาร์พีจี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น